วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

รับซ่อมรถกอล์ฟไฟฟ้า และรถไฟฟ้า

ทำไมเราถึงต้องขับรถไฟฟ้า?

ให้ประสบการณ์การขับขี่ที่เงียบและสะอาด

รถไฟฟ้าให้ประสบการณ์การขับขี่ที่นิ่มนวล ปราศจากควัน และ เสียงรบกวน เพราะมอเตอร์ไฟฟ้าจะไม่ทำงานขณะรถจอด จึงไม่ก่อให้เกิดเสียงติดเครื่อง (idle noise) นอกจากเสียงนุ่ม ๆ จากมอเตอร์และล้อหมุนขณะวิ่ง

ประสิทธิภาพสูง

รถไฟฟ้ามีอัตราการเร่งอย่างรวดเร็ว จากการส่งพลังงานไปยังล้อทันที ด้วยการให้แรงบิดสูงที่ความเร็วระดับต่ำ 
ทำให้เกิดความนุ่มนวลและตอบสนองได้อย่างรวดเร็วในการขับขี่ รถไฟฟ้าที่มีการออกแบบเป็นอย่างดี เช่น
จากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ใหญ่ๆ สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยความเร็วเท่ากับรถยนต์ธรรมดา รวมทั้งให้ความปลอดภัยและประสิทธิภาพสูง

ค่าใช้จ่ายในการใช้งานไม่แพง

ค่าใช้จ่ายสำหรับเชื้อเพลิงต่อระยะทางที่เท่ากันสำหรับรถไฟฟ้าน้อยกว่า รถที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันเชื้อเพลิง การประหยัดจำนวนเงินที่แน่นอนขึ้นอยู่กับอัตราค่าไฟฟ้าในแต่ละท้องถิ่นและความหลากหลายตามการใช้งาน นอกจากนี้ผู้ใช้รถไฟฟ้าสามารถประหยัดค่าซ่อมบำรุงที่เกิดขึ้นกับรถ

รักษาสิ่งแวดล้อม

รถไฟฟ้าเป็นมิตรกับกับสิ่งแวดล้อมไม่ก่อให้เกิดมลภาวะละเป็นยานพาหนะชนิดเดียวเท่านั้นที่ไม่มีไอเสีย เพราะใช้พลังงานจากไฟฟ้าและถึงแม้ว่าแหล่งกำเนิดพลังงานสำหรับรถไฟฟ้าจะใช้น้ำมันและปล่อยควัน แต่เมื่อเปรียบเทียบจะพบว่าน้อยกว่ารถยนต์ที่ใช้พลังงานจากน้ำมันมาก


รถไฟฟ้าจะมีมาตรฐานความปลอดภัยทัดเทียมกับรถยนต์ธรรมดา ตามข้อกำหนด ซึ่งตั้งขึ้นโดย สำนักงานรักษาความปลอดภัยและการจราจร บนทางหลวงแห่งชาติ มีการบันทึกความปลอดภัยและตรวจตราอย่างระมัดระวัง ณ ปัจจุบันนี้ ผลการตรวจสอบเป็นไปในเชิงบวก แสดงให้เห็นถึงความปลอดภัยสูงสุดของ รถไฟฟ้า และโอกาสที่รถไฟฟ้าจะระเบิดหรือไฟไหม้พบได้น้อยกว่ารถที่ขับเคลื่อน ด้วยเชื้อเพลิง
การออกแบบทั้งหมดของรถไฟฟ้า รวมถึงองค์ประกอบของรถเล็งเห็นถึงความปลอดภัยสูงสุด รวมทั้งชุดมาตรฐานความปลอดภัยและไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งกำหนดโดย National Electrical Code , The Society of Automotive Engineer และองค์กรทางด้านความปลอดภัยอื่น ๆ นอกจากนี้พบว่า การขับขี่และการชาร์จรถไฟฟ้า ปลอดภัยเท่ากับการขับขี่ยานพาหนะอื่น ๆ ในทุกสภาพอากาศและทุกช่วงเวลาของวัน




การชาร์จแบตเตอร์รี่

การชาร์จแบตเตอร์รี่ที่บ้าน

เจ้าของรถไฟฟ้าสามารถชาร์จพลังงานในโรงจอดรถ แบบข้ามคืนหรือสุด สัปดาห์ตามสะดวก

การชาร์จแบตเตอร์รี่ที่ทำงาน

นายจ้างเริ่มมีการจัดหาสถานที่ชาร์จพลังงานในที่จอดรถสำหรับพนักงาน

การชาร์จสำหรับรถขนส่งมวลชน

บริษัทฯ ที่ดำเนินการระบบขนส่งมวลชนจะสามารถชาร์จแบตเตอรี่สำหรับ รถไฟฟ้าได้ที่ศูนย์จอดรถ
ในการชาร์จรถไฟฟ้าต้องใช้เวลานานเท่าไหร่?
ระยะเวลาที่ใช้ในการชาร์จรถไฟฟ้าขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ ดังนี้
  1. ระดับของแบตเตอรี่ที่ใช้ไป
  2. ระดับของไฟฟ้าที่ใช้ในการชาร์จแบตเตอรี่
IWC หรือ กรรมาธิการผู้ประกอบการยานพาหนะไฟฟ้าแห่งชาติ (The National Electric Vehicle Infrastructure Working Council) ได้กำหนดระดับการชาร์จรถไฟฟ้าใน 3 ระดับ ดังนี้
ระดับที่ 1 (ช้า) ใช้ไฟฟ้าทั่วไปในการชาร์จ ด้วยเครื่องมือแบบ“three – prong receptacle” ซึ่งพบในบ้านและที่ทำงาน เครื่องชาร์จลักษณะนี้สามารถชาร์จได้ทุกที่ แต่มีกระแสไฟที่จำกัดเพียง 10 แอมแปร์ การชาร์จระดับ 1 จะใช้เวลา 8 – 14 ชม. หรือมากกว่า สำหรับการชาร์จที่สมบูรณ์ ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของแบตเตอรี่
ระดับที่ 2 (ระดับปกติ) เป็นวิธีการเบื้องต้นสำหรับการชาร์จรถไฟฟ้าและต้องจัดหาอุปกรณ์พิเศษสำหรับรถไฟฟ้า ระดับที่ 2 ใช้เวลาในการชาร์จ 4 – 8 ชม. ขึ้นอยู่กับระดับความ “ต่ำ” ของแบตเตอรี่ ระดับธรรมดานี้สามารถใช้กับสถานีชาร์จในบ้าน ขนส่งมวลชนและสถานีชาร์จ
ระดับที่ 3 (อย่างรวดเร็ว) ระดับนี้เป็นการชาร์จโดยใช้ไฟแรงดันสูง ซึ่งสามารถชาร์จได้ภายใน 10 –20 นาที เครื่องชารจ์ระดับที่ 3 ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา

วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ข้อแนะนำในการขับขี่รถกอล์ฟไฟฟ้าที่ถูกต้อง



ข้อแนะนำในการขับขี่รถกอล์ฟไฟฟ้าที่ถูกต้อง

1.ผู้ขับขี่จะต้องขับโดยการใช้เท้าขวาข้างเดียวเหยียบเบรกและคันเร่งจะเบรกก็ใช้ยกเท้าขวา ออกจากคันเร่งมาเหยียบที่เบรค
*ห้ามใช้สองเท้าเหยียบคันเร่งและเบรกพร้อมกันโดยเด็ดขาด
2. ขณะที่ขับรถกอล์ฟไปข้างหน้า (FORWARD) ถ้าจะเปลี่ยนมาขับถอยหลัง (REVERSE) ควรให้รถกอล์ฟจอดสนิทก่อนจึงโยกสวิทซ์ F-N-R มาที่ตำแหน่ง R และจึง เหยียบคันเร่ง
*ห้ามโยกสวิทซ์ขณะที่ยังเหยียบคันเร่งอยุ่เพราะจะทำให้อุปกรณ์ อิ-เล็กทรอนิกส์ เกิดความเสียหายได้
3. เมื่อไม่ได้ใช้รถกอล์ฟแล้ว ควรปิดสวิทซ์กุญแจทุกครั้ง และโยกสวิทซ์ F-N-R ไปที่ตำหน่ง N แล้วเหยียบบล็อกเบรกทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
4. ขณะขับรถกอล์ฟในการบรรทุก ควรจะบรรทุกให้ถูกต้อง ห้ามบรรทุกคนและสิ่งของมากจนเกินไป
* (ถ้าจะใช้งานในการบรรทุกคนก็ไม่ควรเกิน 4 คน)
ข้อแนะนำในการบำรุงรักษารถกอล์ฟไฟฟ้า
- อัดจาระบีรถกอล์ฟทุกจุด เดือนละ 1 ครั้ง
- เช็คลมยาง ทุกๆ สัปดาห์ (ลบยางที่ใช้กับรถกอล์ฟ 18~22 ปอนด์) ทั้ง 4 ล้อ
- เช็ค/เติม น้ำกลั่นแบตเตอรี่ พร้อมทั้งขันน๊อตที่ขั้วแบตเตอรี่ ทุกๆ สัปดาห์
-เช็คและขันน๊อตโครงสร้างต่างๆ ของรถกอล์ฟทุกๆ สัปดาห์
1. วิธีตรวจเช็คแบตเตอรี่
1.1 ดูภายนอกว่ามีรอยถลอก รอยบุบ หรือ รอยกระแทกขณะขนส่งเคลื่อนย้ายหรือไม่
1.2 ดูที่ขั้วแบตเตอรี่ว่ามีสิ่งสกปรก, มีขี้เกลือเกาะหรือไม่ หากมีต้องรีบทำความสะอาดไม่อย่างนั้นขั้เกลือจะทำให้กระแสไฟรั่วออกจากแบตเตอรี่เรื่อยๆ และขั้วแบตเตอรี่ชำรุดได้ในที่สุด
1.3 ดูจุดรั่วซึมของแบตเตอรี่โดยรวม รวมทั้งที่ฝาปิด ว่ามีจุดรั่วซึมหรือไม่หากเจอจุดรั่วซึมที่แบตเตอรี่แล้วจะไม่สามารถซ่อมได้ ต้องเปลี่ยนเบตเตอรี่ใหม่เท่านั้น
2. ข้อควรระวัง
2.1 ห้ามสูบบุหรี่ใกล้ๆ แบตเตอรี่
2.2 ห้ามขันน๊อตที่ขั้วแบตเตอรี่แน่นเกินไป หากแน่นเกินไปจะทไให้ขั้วหัก, ขั้วละลาย หรือ เกิดประกายไฟขณะใช้งานเป็นอันตรายได้
2.3 หากแบตเตอรี่รั่วซึมแล้วทำการซ่อมปะเองจะทำให้แบตเตอรี่เกิดการระเบิดที่จุดนั้นได้ เป็นอันตรายมากต่อผู้ใช้งาน
3. การตรวจเช็คระดับน้ำกรด (ให้ใช้ไฮโดรมิเตอร์)
3.1 ก่อนการตรวจเช็คระดับน้ำกรด ห้ามเติมน้ำกลั่นลงไปเด็ดขาด
3.2ให้บีบไฮโดรมิเตอร์เพื่อดุดและปล่อยน้ำกลั่น 2-4 ครั้ง เพื่อป้องกันการคราดเคลื่อนในการเช็คแบตเตอรี่
3.3 เวลาดูดน้ำกลั่นขึ้นมาต้องให้เต็มหลอด ไฮโดรมิเตอร์ทุกครั้ง
3.4 เวลาเช็คระดับน้ำกรด ต้องตรวจเช็คทุกช่องของแบตเตอรี่ในลูกนั้นๆตามมาตรฐานช่อง ละ 2 โวล์ท เช่น แบตเตอรี่ลูกละ 8 โวล์ท จะต้องมี 4 รู
**หากตรวจเช็คด้วย ไฮโดรมิเตอร์แล้วพบปัญหา สาเหตุน่าจะมาจาก
1.แบตเตอรี่เก่าแล้ว และหมดอายุการใช้งานแล้ว
2. แบตเตอรี่วางนานเกินไป และไม่ได้ชาร์ทไฟเลย
3. แบตเตอรี่น่าจะต้องมีจุดรั่วทำให้น้ำกลั่น น้ำกรด ซึมออกมา
4. แบตเตอรี่เริ่มเสื่อมสภาพแล้ว
**ถ้าหากสาเหตุของปัญหามาจาก 4 ข้อข้างต้นนี้ ต้องให้ผู้เชี่ยวชายเข้าตรวจสอบให้
5. เติมน้ำกลั่นมากเกินไป
4. วิธีตรวจเช็คโวลท์ (Volt)
ก่อนตรวจเช็คโวลท์ต้องตรวจหลังจากชาร์จแล้ว 6-24 ชม. การตรวจเช้คโวลท์ต้อดูตามตาราง
** หากถึงระดับ 10-70 % แบตเตอรี่จะต้องชาร์จไฟแล้ว
13












5.วิธีเติมน้ำกลั่น
5.1 ต้องเติมน้ำกลั่นหลังจากการชาร์จไฟเสร็จแล้ว (ก่อนชาร์จไฟให้ดูระดับน้ำกลั่นว่าเกินแผ่นตะกั่วหรือไม่)
5.2 กรณีแบตเตอรี่วางไว้นาน ระดับน้ำกรดจะต้องเกินแผ่นตะกั่วนิดหน่อย ห้ามระดับน้ำกรดต่ำกว่าแผ่นตะกั่วเด็ดขาด จะทำให้แผ่นตะกั่วเสื่อมสภาพ
5.3 น้ำกลั่นที่ใช้เติมลงในแบตเตอรี่ต้องเป็นน้ำกลั่นใสเท่านั้น ห้ามเติมน้ำกลั่นมีสี, น้ำประปา ลงในแบตเตอรี่เด็ดขาด
5.4 ห้ามเดินน้ำกลั่นจนถึงฝาแบตเตอรี่ เนื่องจากขณะชาร์จไฟน้ำจะเดือดและพุ่งเกินออกมาจากแบตเตอรี่
5.5 ห้ามเติมน้ำกรดเข้าไปในแบตเตอรี่เด็ดขาด
6. วิธีทำความสะอาดแบตเตอรี่
6.1 ให้ใช้ผ้าแห้งเช็ดรอบๆ แบตเตอรี่
6.2 หากสกปรกมากถึงขั้นต้องใช้น้ำล้างออก ห้ามให้น้ำเข้าไปในช่องเดิมน้ำกลั่นที่รูฝาปิดแบตเตอรี่
6.3 ห้ามใช้จาระบีทาที่ขั้วแบตเตอรี่ ให้ใช้น้ำยาเคลือบขั้วแบตเตอรี่ฉีดพ่นที่ขั้วแบตเตอรี่ เพื่อป้องกันขี้เกลือขึ้นที่ขั้วฯ
7. วิธีเก็บรักษาแบตเตอรี่
7.1 ต้องวางในที่ที่อุรหภูมิต่ำ, ไม่ชื้น, แสงแดดส่องไม่ถึง
7.2 ถ้าแบตเตอรี่มีไฟไม่ถึง 70% ต้องชาร์จไฟอีกครั้งหนึ่งก่อนเก็บ และก่อนนำมาใช้งานก็ต้องชาร์จไฟอีกครั้ง
8. วิธีการชาร์จไฟ
แบตเตอรี่รุ่นนี้ (Deep Cycle) ไม่เหมือนกับแบตเตอรี่รุ่นเก่าที่มี Memory (หน่วยความจำ) ในตัว
8.1 ไม่จำเป็นต้องรอให้ให้หมดแล้วค่อยชาร์จไฟ เช่นใช้ไฟไป 30 % ก็ชาร์จไฟๆได้แล้วไม่ต้องรอให้หมดเกลี้ยง (ต้องดูที่โวลท์ขอ
แบตเตอรี่ว่าเหลืออยู่เท่าไหร่)
8.2 ในการชาร์จไฟทุกครั้งจะจ้องชาร์จตามขั้นตอน คือ ต้องให้ตู้ชาร์จตัดไฟเองเข็มวัดของตู้ถึงเลข 0 ถึงถอด ได้ห้ามใช้รถระหว่างชาร์จไฟไม่จบขั้นตอน เพราะจะทำให้แบตเตอรี่เสียเร็วมาก เนื่องจากการถอดแบตเตอรี่ของเรานั้นเหมือนกับการต้มน้ำที่ยังเดือดไม่สุดมีฟองค้างอยู่ข้างในเราปิดไฟก่อนน้ำเดือดเต็มที่ฟองก้ยังค้างเป็นฝุ่นสะสมข้างในเรื่อยๆ ทำให้แบตเตอรี่ เสียเร็วมาก
9. การใช้แบตเตอรี่ในรถกอล์ฟ
ต้องใช้แบตเตอรี่ทั้งยี่ห้อ, รุ่น และ โวลท์ ที่เหมือนกัน เช่น ถ้าใช้แบตเตอรี่ Trojan 6 โวล์ทก็ต้องใช้ Trojan 6 โวลท์ ทั้งชุด ห้ามใช้ 8 โวลท์ หรือ 12 โวลท์ มาผสมกัน และถ้ายี่ห้อเหมือนกัน, โวลท์เหมือนกัน แต่คนละรุ่นก็ใช้ผสมด้วยกันไม่ได้
หมายเหตุ   กรณีชาร์จไฟรถกอล์ฟที่มีตู้ชาร์จเป็นไฟแบบ 110 โวลท์
ขั้นตอนการแปลงไฟบ้านจาก 220 V. ให้เป็น 110 V. ก่อนจะใช้งานชาร์จไฟรถกอล์ฟ
15





ขอบคุณที่มาและภาพ ประกอบ http://www.greatminerva.com/golf/webboard/index.php?topic=29.0
- See more at: http://blogs.jssr.co.th/?p=1015#sthash.Q7sclDxZ.dpuf

วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

กระเป๋าหนังสกรีนลายแฟชั่น สไตล์วัยรุ่น

จำหน่ายเสื้อยืดแฟชั่น T-SHIRTS เสื้อวัยรุ่น และ รับสกรีนเสื้อกีฬา เสื้อยืด เสื้อโปโล เสื้อโรงงาน เสื้อในโอกาสพิเศษต่างๆ เสื้อกีฬา กระเป๋าหนังสกรีนลายแฟชั่น ราคาส่งและปลีก ที่ตลาดนัดจตุจักร โครงการ 18 ซอย 5 ชื่อร้าน AB-ART ติดต่อ ชัยชาญ Tel. 0800888910

กระเป๋าหนังสกรีนลาย

จำหน่ายกระเป๋าหนังสกรีนลายตามสั่ง ทั้งปลีกและส่ง จัดส่งทั่วประเทศไทย

กระเป๋าราคา ขายปลีก ใบ ละ 280 บาท  ขายส่ง 250 บาท

เสื้อราคา ขายปลีก ตัวละ 180 บาท ขายส่ง  150 บาท
















วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

FORKLIFT FRONT END LOADER HYDRAULIC SCALE SYSTEM BACKHOE ON BOARD WEIGHING TRACTOR BUCKET SKID

                                                                    
                                                                          BUY NOW
Only 10 left in stock.
Ships from and sold 
  • Easy to install. Weigh on the go and save time.
  • Converts hydraulic pressure into a readable weight of the load being lifted.
  • "Tee's" into the hydraulic system of your forklift or loader. TEE IS NOT INCLUDED.
  • Accuracy error is +/- 1% of full capacity.
  • Will weigh in 10 LB increments for 10,000 capacity systems, 50 LB increments for higher capacities.

Product Description

Powered off the battery of your machine. 12 volt DC power is standard. (24, 36, 48 volt DC power also available, please call) 5,000 PSI sensor. 1/4 Inch NPT male threads on sensor. Comes with a hook up cable of 12 feet. Push button controls. Display is ABS sealed and measures 6.5" x 3.5" x 2.25" (without stand). 0.56 inch ultra bright LED digit display. 6 digit display. Overload warning. Full range zero/tare. "Lock-On-Weight", weight will stay displayed on monitor and can also be recalled. Data output for printer/computer interfacing (no tech support). Serial printer data or continuous computer data. Water resistant sealed polycarbonate with stainless steel tilt mounting bracket. Easily mounted to equipment. Display modes for display of Current Load or Total Weight. Adjustable parameters for automatic weight capture and capture and add for front-end-loaders 60,000 internal resolutions. Sensor operating temperature = -40c to 125c (-40f to 257f). Humidity = 0 to 80% non-condensing. Temperature compensated sensor supplied. Printer option available. Additional load monitor display option available. Adjustable sample rate. Adjustable motion detection and threshold for"Lock-on-Weight". Reweigh button for"Lock-on-Weight"without reloading the scale. 1 year limited manufacturers warranty. Comes with detailed installation manual. Available in PDF, contact me for a copy. For initial calibration a known weight load of 10% of full capacity is recommended











                             
                             

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Vestil Battery Transfer Cart with Winch, Model# BTC-PJ-WINCH




Specifications for this item

Brand Name
Vestil
UPC
691215058179
EAN
0691215058179
Number of Items
1

Product Features

  • 2 1/4in. roller diameter
  • 2 5/8in. roller height from pallet truck forks
  • 40in. L x 30in. W usable area
  • Pallet truck shown not included

Product Description

The Vestil Battery Transfer Cart with Winch makes quick work of loading, unloading and transferring fork truck batteries. U.S.A. Common Usage: Forklift battery transfer cart, Load Capacity (lbs.): 4,000, Material Type: Steel, Dimensions L x W x H (in.): 42 x 32 x 7, Includes: Front-locking safety tabs, Finish Type: Powder-coat

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

All Sports Lift Kit / E-Z-GO TXT


In stock.
Usually ships within 2 to 3 days.
Ships from and sold 
  • All Sports Lift Kit
  • E-Z-GO TXT
  • E-Z-GO TXT 2001 and newer
  • 5" Drop Axle with Spindles Lift Kit , Less installation time , Tire Size: 23" x 10.5" x 12" , Greater ground clearance , No steering riser , Direct bolt-on design

Product Description

All Sports Lift Kit / E-Z-GO TXT Pack Size:1 NIVEL 6208 E-Z-GO TXT 2001 and newer 5" Drop Axle with Spindles Lift Kit , Less installation time , Tire Size: 23-10.50-12 , Greater ground clearance , No steering riser , Direct bolt-on design

Golf Cart Kit - Advanced EY7-4001 Motor, Alltrax DCX500 Controller & Accessories (E-Z-Go DCS & PDS)


  • Advanced EY7-4001 Motor with Double Brush Set
  • Alltrax DCX500 DCS / PDS 500 amp Controller w/ fuse
  • MZJ-400 Solenoid
  • 3 amp Diode
  • 220 or 470 ohm Pre-charge Resistor w/ 3/8" terminal

Product Description

This package includes: Advanced EY7-4001 Motor with Double Brush Set Alltrax DCX500 DCS / PDS 500 amp Controller w/ fuse MZJ-400 Solenoid 3 amp Diode 220 or 470 ohm Pre-charge Resistor w/ 3/8" terminal High Torque Kit for E-Z-Go DCS & PDS. Mounts on 19 Tooth Female Spline with the Dana H12 Axles. 12HP @1300 rpm on 36 volts.

EZGO Golf Cart 36 Volt High Torque Motor 8 HP @ 1600 RPM "BEAST"


Product Description

Golf Cart Motor - 36v HIGH TORQUE electric motor. - EZGO TXT - Marathon electric 1988 & Up series carts (non PDS). - Also Columbia & Harley Davidson carts with Dana axle. - Controller upgrade recommended.

Golf Cart Kit - D&D 170-006-0001 Motor, Alltrax AXE4844 Controller & Accessories (E-Z-Go & Yamaha Series)

  • D&D 170-006-0001 Motor
  • Alltrax AXE 4844 400 amo Controller with fuses
  • MZJ-200D Solenoid
  • 3 amp Diode
  • 220 or 470 ohm Pre-charge Resistor w/ 5/16" terminal

Product Description

This package includes: D&D 170-006-0001 Motor Alltrax AXE 4844 400 amp Controller with fuse MZJ-200D Solenoid 3 amp Diode 220 or 470 ohm Pre-charge Resistor w/ 5/16" terminal High Speed kit for E-Z-Go & Yamaha Series Carts 1992 & newer. Mounts on 19 Tooth Female Spline. Will give your cart an approximate Speed of 19-21 mph & 5% increase in Torque. 8.6 HP Peak @ 4850 Rpm

CONTROLLER, 300 A Club Car Golf Cart


In Stock.
Ships from and sold by Franklin Sales.
  • Defects in Workmanship 30 Days
  • We are proud to offer products with quality and functionality which are equal to, or exceed that of, OEM replacement parts and accessories
 See more product details
3 new from $242.00

Product Description

300 amp, 2448 volt, Alltrax (NPX4834), series, NONprogrammable controller with 3 buss bars and Club Car 5k0 throttle. Stock replacement only. Not for use with large tires or upgraded motors. Stock replacement only. Not for use with large tires or upgraded motors.

48-Volt Alltrax Controller DCX600G19


Product Description

* Fits Yamaha Golf Carts * For Electric Carts * For G19 * 600 Amp * 0-1K Throttle Input * Regen Programmable Solid State Speed Controller

Accelerator Pedal Assembly

Product Description

* For E-Z-GO Golf Carts * For Electric Carts, 2008-up RXV * OEM# 604692

วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คู่มือซ่อมรถโฟล์คลิฟท์ service manual forklift



Available from these sellers.
  • Our Reproduction Manuals Are Better The Originals! Here's why: We start with high-resolution scans of the original manual, then we add:
  • Our special comb-binding for industry-leading toughness and ease-of-use. Try laying a regular manual flat while you work!
  • Updated information and data not available at the time of original printing
  • Valuable Tractor Data, such as serial info, measurements, capacities and specs
  • Super-sharp text and images our competitors simply can't match (in fact, many of them just copied our manuals!). Please allow us an additional 4-5 days to process your order!
1 new from $25.99







Available from these sellers.
  • Our Reproduction Manuals Are Better The Originals! Here's why: We start with high-resolution scans of the original manual, then we add:
  • Our special comb-binding for industry-leading toughness and ease-of-use. Try laying a regular manual flat while you work!
  • Updated information and data not available at the time of original printing
  • Valuable Tractor Data, such as serial info, measurements, capacities and specs
  • Super-sharp text and images our competitors simply can't match (in fact, many of them just copied our manuals!). Please allow us an additional 4-5 days to process your order!
1 new from $37.99

Available from these sellers.
  • Our Reproduction Manuals Are Better The Originals! Here's why: We start with high-resolution scans of the original manual, then we add:
  • Our special comb-binding for industry-leading toughness and ease-of-use. Try laying a regular manual flat while you work!
  • Updated information and data not available at the time of original printing
  • Valuable Tractor Data, such as serial info, measurements, capacities and specs
  • Super-sharp text and images our competitors simply can't match (in fact, many of them just copied our manuals!). Please allow us an additional 4-5 days to process your order!
1 new from $174.99
Case 584D, 585D, 586D Forklift Service Manual 9-69280 R1 1,232 Pages Color 






Available from these sellers.
  • This is an original copy of the manual
  • May show signs of use (finger prints, writing, etc...)
  • In good usable condition!
  • Please refer to picture to verify any serial number breaks!
1 new from $24.99


Product Description


This manual tells you how to test the adjustments on these forklifts
Industrial Machinery Manuals Is Proud To Offer 1 Quality Bound Copy Of A: Komatsu Forklift FG & FD Series, Forklift Truck, Operations & Maintenance Manual Year (1987) This Manual Covers Models: FG Series FD FG20S25S/30S-4 FG20/25/30-8 FG20H/25H/30H-8 FD20/25/30-10 FD20S/25S/30S-5 FD20H/25H/30H-8 This Manual Includes: Foreword, Breaking in your new Machine, Check Before Starting, Periodic Maintenance, Periodic Replacement of Consumable Parts, Maintenance Table Replacement and Check, Service Data, Lubrication Chart, Handling Machine in Extremely Hot Places, Cold Weather Operation, Storage, Fuel and Lubricants, Wiring Diagram, Before Operating Forklift, General Locations, Instruments and Controls, Operating Your Machine, This Manual Has 66 Printed Pages. Year 1987

Industrial Machinery Manuals Is Proud To Offer 1 Quality Bound Copy Of A: Komatsu Forklift H-20 Gasoline Engine Parts Manual Year (1988) This Manual Covers Models: H-20 Japanese & English This Manual Includes: H20 PNE6, English & Japanese, Parts Book, Functional Illustrated Drawings showing Component Identification, This Manual Has 84 Printed Pages. Year 1988

ndustrial Machinery Manuals Is Proud To Offer 1 Quality Bound Copy Of A: Komatsu Forklift Truck, FG20 Series, Parts Book Manual Year (1988) This Manual Covers Models: FG20/23/25/28/30-8, FG20L/25L-8, FG20S/25S/30S-4, This Manual Includes: FG20/30.8-PNE3, Parts Book, Functional Illustrated Drawings showing Component Identification, This Manual Has 414 Printed Pages. Year January 1988

วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

JLG Liftpod Personnel Lift


                                                               JLG Liftpod Personnel Lift

                                                                             






Product Description


Imagine working at heights of 14 feet, hands-free, with ability to move 360 degrees - all while having instant access to your tools and materials. The LiftPod portable aerial work platform combines the portability of a ladder with the freedom and functionality of a work platform. The LiftPod is easily portable between sites in a truck, and around the work site on wheels. Each module of LiftPod can be carried and moved by one person, and it can be assembled in less than 30 seconds. It is low maintenance and lightweight; each of the three LiftPod modules weighs about 50 pounds for simple disassembly and transfer. LiftPod elevation is controlled by a battery-operated drill or an optional battery pack for increased flexibility and affordability. Increase Productivity & Safety LiftPod's sturdy basket allows you to work safely with both hands and rotate 360 with more comfort and less fatigue. Portability Each of LiftPod's three modules can be carried and assembled by one person. This, combined with a base on wheels, allows for easier transportation to, from, and around different job sites. Efficiency LiftPod's tool tray holds your tools and materials as you work, eliminating the need to make multiple trips up and down.

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

วิธีการทำงานภายในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อความปลอดภัย


ความรู้จาก "กรมโรงงานอุตสาหกรรม" ในฉบับนี้ เราจะมากล่าวกันถึงในเรื่องของ "วิธีการทำงานภายในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อความปลอดภัย" ด้วยการแนะนำวิธีการปฏิบัติงานภายในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ หลาย ๆ รูปแบบ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในระหว่างการปฏิบัติงานภายในโรงงาน จากข้อมูลที่มีประโยชน์ของทางกรมโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้ท่านผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้นำมาปฏิบัติกันได้อย่างจริงจัง รวมถึงเป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน อีกทั้งเป็นการช่วยลดความเสี่ยงก่อนที่จะเกิดอันตรายในระหว่างการปฏิบัติงานลงได้ และเป็นการช่วยรักษาทรัพย์สินของผู้ประกอบการ รวมถึงเป็นการรักษาทรัพยากรมนุษย์อันมีค่าทั้งทางตรง และทางอ้อม
แต่ก่อนอื่นเราควรมาทำความรู้จักกับความหมายของคำต่าง ๆ ที่จะกล่าวถึงภายในเนื้อหาของบทความนี้ ตาม พ.ร.บ. กฎกระทรวง โดยเริ่มจากคำว่า .....
การทำงาน ในที่นี้หมายถึง การทำงานภายในโรงงานอุตสาหกรรม หรือการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งต้องมี เครื่องจักร เครื่องยนต์กลไกต่าง ๆ จากคำนิยามใน พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 ที่ควรทราบมีดังนี้
คำว่า "โรงงาน" หมายถึง อาคาร, สถานที่, ยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักร โดยมีกำลังตั้งแต่ 5 แรงม้า หรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไป, การใช้คนงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป โดยใช้เครื่องจักรหรือไม่นั้น สำหรับทำการผลิต, การประกอบ, การบรรจุ, การซ่อม, การซ่อมบำรุง, การทดสอบ, การปรับปรุง, การแปรสภาพ, การลำเลียง, การเก็บรักษา และแม้กระทั่ง การทำลายสิ่งใด ๆ นั้นก็ตามที ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละประเภท หรือชนิดของโรงงานที่ได้กำหนดขึ้นในกฎกระทรวง
คำว่า "เครื่องจักร" หมายถึง สิ่งที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่าง ๆ หลาย ๆ ชิ้น และใช้สำหรับการก่อกำเนิดพลังงาน, การเปลี่ยน, การแปลงสภาพพลังงาน หรือการส่งพลังงาน ทั้งนี้ด้วยกำลังของน้ำ, ไอน้ำ, ลม, ก๊าซ, ไฟฟ้า และพลังงานอื่น ๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลาย ๆ อย่างรวมกัน และนั่นก็หมายความถึง สายพาน, เพลา, เกียร์, และสิ่งอื่น ๆ ที่ทำงานตอบสนองกัน
คำว่า "คนงาน" หมายถึง ผู้ที่ทำงานภายในโรงงาน ทั้งนี้ไม่รวมถึงผู้ที่ทำงานฝ่ายธุรการ (ฝ่ายสำนักงาน)
และคำว่า "พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายถึง ผู้ที่รัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติโรงงาน
การที่เราจะทำงานในกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานในภาคเกษตรกรรม หรือภาคอุตสาหกรรมที่จะต้องสัมผัสกับสภาวะอันตราย ซึ่งเราสามารถป้องกัน และทุเลาอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นได้ หากเราได้หันมาทำความเข้าใจถึงอันตรายนั้น ๆ เสียก่อน โดยการเรียนรู้ถึงอันตรายต่าง ๆ ด้วยการจัดแบ่งอันตรายออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ คือ
1. ด้านฟิสิกส์ เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับ ความดังของเสียงที่ดังเกินไปจากความดังเสียง, ความสั่นสะเทือน, อุณหภูมิ หรือรังสีของการสัมผัสเกินขนาด เหล่านี้เป็นต้น ที่จะสามารถทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความเครียด และจะมีผลทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
2. ด้านเคมี ในปัจจุบันกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ มีการใช้สารเคมีกันมากขึ้น ดังนั้นการใช้งานทางด้านสารเคมี จึงมีความจำเป็นจะต้องมีระบบการระบายอากาศที่ดี หรือตัวผู้ปฎิบัติงานจะต้องใช้อุปกรณ์ในการป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protective Device = PPD) เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับงานทางด้านสารเคมีแต่ละชนิด
3. ด้านชีววิทยา เป็นงานที่จะต้องเกี่ยวข้องกับอินทรีย์ อันเนื่องมาจาก สัตว์, รา, เชื้อโรค และฝุ่นจากพืช กับการได้รับสิ่งเหล่านี้อยู่เป็นประจำ จึงทำให้เกิดโรคและเป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์ขึ้นได้
4. ด้านเออร์โกโนมิกส์ เป็นเรื่องของการประยุกต์เอาศาสตร์ทางด้านสรีระของมนุษย์เข้ากับด้านวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด (สำหรับข้อ 1-4 จะไม่ขอกล่าวถึงโดยละเอียด ... ในที่นี้)
5. ด้านความปลอดภัยในการทำงานภายในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งโดยใหญ่แล้วจะเกี่ยวข้องกับ เครื่องจักรกลต่าง ๆ อย่างเช่น ถังบรรจุก๊าซ, ถังมีความดันไฟฟ้า, ห้องเย็น, โรงน้ำแข็ง และแม้กระทั่ง หม้อไอน้ำ หรือหม้อต้ม ฯ เหล่านี้เป็นต้น
และสำหรับเครื่องจักรกลประเภท เครื่องปั้มโลหะ จัดเป็นเครื่องจักรกลที่สามารถก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้มากที่สุดในจำนวนเครื่องจักรกลชนิดหนึ่ง ซึ่งนักวิศวกรและนักสถาปนิกทั้งหลาย จะต้องช่วยกันคิดออกแบบหรือคัดแปลง พื่อให้เครื่องจักรกลดังกล่าว สามารถป้องกันอุบัติเหตุและอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ดังนั้นการทำงานที่ปลอดภัยของงานแต่ละประเภทอย่างถ่องแท้ จึงปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ คือ
  • ความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายวัสดุ
อุบัติเหตุหนึ่งในสี่ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในระหว่างการทำงานล้วนเกิดจาก การเคลื่อนย้ายวัสดุ โดยมีการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบไปสู่ขบวนการผลิต, จากขบวนการผลิตไปสู่โกดังสินค้า, จากโกดังสินค้าไปสู่ลูกค้า ดังนั้น การเคลื่อนย้ายวัสดุดังกล่าว จึงแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ คือ การเคลื่อนย้ายด้วยมือและการเคลื่อนย้ายด้วยเครื่องจักร
1. การเคลื่อนย้ายด้วยมือ ซึ่งเราจะต้องพิจารณาจากสิ่งของวัสดุที่จะต้องทำการเคลื่อนย้ายโดยใช้มือยก และจะต้องพิจารณาถึงการใช้เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protective Device = PPD) ตลอดจนความเหมาะสมของผู้ที่จะปฏิบัติงานไปด้วยพร้อม ๆ กัน อย่างในกรณีที่มีการใช้อุปกรณ์ช่วยขนย้าย เช่น พวกล้อเลื่อน, รถเข็นต่าง ๆ นั้น เราก็ควรที่จะมีข้อระวัง ดังต่อไปนี้ คือ
- การวางของ ห้ามวางเอียง และไม่ควรบรรทุกของเกินน้ำหนักรถ หรือตั้งของสูงเกินไป จนในขณะที่เข็ญรถอยู่นั้นไม่สามารถมองเห็นทางข้างหน้าอย่างถนัดและชัดเจน
- กรณีถ้าเป็นทางลาดลง เราควรจะเข็นรถ โดยให้ตัวรถเข็นอยู่ทางด้านหน้าของผู้เข็น ถ้ากรณีเข็นรถขึ้นทางลาด เราควรให้ผู้เข็นลากรถ โดยให้ตัวรถอยู่ทางด้านหลังของผู้เข็น
2. การเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยเครื่องจักร ซึ่งเราสามารถพิจารณาได้จากหลักการ ดังต่อไปนี้ คือ
- เครื่องจักร หรือรถต้องมีหลังคา และต้องมีอุปกรณ์ควบคุม เพื่อจำกัดขีดความสูงสุดหรือต่ำสุดของรถ
- การใช้รถให้ถูกลักษณะของงาน และถ้าเป็นรถที่ต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิง กรณีที่มีการใช้รถในที่ ๆ อับอากาศ สถานที่ ๆ นั้น ควรจะมีออกซิเจนเพียงพอแก่การหายใจ
- ผู้ขับขี่จะต้องมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง รวมถึงผู้ขับขี่จะต้องได้รับการฝึกหัดให้มีการใช้รถสำหรับงานอุตสาหกรรมอย่างถูกต้อง และปลอดภัย อีกทั้งจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ขับขี่รถสำหรับงานอุตสาหกรรมเพียงเท่านั้น และควรมีเครื่องหมายเป็นหลักฐานที่สามารถมองเห็นอย่างชัดเจนได้ว่า บุคคล ๆ นั้นได้รับมอบหมายในงานดังกล่าวโดยตรง
  • อันตรายจากการใช้ "ลวดสลิง"
"ลวดสลิง" เป็นเชือกชนิดหนึ่ง ซึ่งเส้นใยทำด้วยโลหะ มีประโยชน์ในทางการก่อสร้าง, การขนส่งที่ท่าเรือ และลิฟต์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือลิฟต์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
การบำรุงรักษา "ลวดสลิง"
1. ควรทำการบันทึกประวัติ อย่างเช่น ซื้อมาจากที่ไหน ? ซื้อเมื่อไร ? และสเป็คเป็นอย่างไร ? เป็นต้น
2. อย่าใช้สิ่งของที่มีน้ำหนัก วางทับลงบน "ลวดสลิง" โดยตรง เพราะจะทำให้ "ลวดสลิง" เกิดการงอและคืนตัวได้ไม่ดี
3. อย่าทำการลาก หรือ ถู "ลวดสลิง" กับของมีคม
4. ควรเก็บ "ลวดสลิง" ไว้ในที่ ๆ แห้ง และควรหลีกเลี่ยงการเก็บ "ลวดสลิง" ไว้ในที่ ๆ มีอุณหภูมิสูง เพราะจะทำให้ "ลวดสลิง" รับน้ำหนักได้น้อยลงจากเดิม
5. ควรหลีกเลี่ยง "ลวดสลิง" จาก แรงกระตุก (Shock Load)
6. เวลาใช้ "ลวดสลิง" สำหรับงานยกของที่มีของคม เราควรหาสิ่งของ เพื่อใช้รองรับที่ "ตัวของ" นั้น ๆ ด้วย
  • ความปลอดภัยในการเชื่อมโลหะ
1. ควรใช้หน้ากากป้องกันแสงที่เกิดจากการเชื่อมในขณะที่ทำการเชื่อม
2. ควรสวมเสื้อผ้าอย่างมิดชิดในขณะที่ทำการเชื่อม
3. ควรสวมรองเท้านิรภัยในขณะที่ทำการเชื่อม
4. ควรสวมถุงมือในขณะที่ทำการเชื่อม
บริเวณพื้นที่ในการปฏิบัติงาน
1. บริเวณพื้นที่ในการปฏิบัติงานควรเป็นวัสดุทนไฟ และไม่มีน้ำขัง
2. ควรสวมหน้ากากเพื่อป้องกันแสง, รังสี และสะเก็ดไฟ
3. ไม่ควรให้มีวัสดุติดไฟอยู่ใกล้ ๆ
4. บริเวณพื้นที่ในการปฏิบัติงานควรมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
5. บริเวณพื้นที่ในการปฏิบัติงานควรมีแสงสว่างอย่างเพียงพอ
เครื่องเชื่อมควรมีลักษณะดังนี้
1. ตัว และ อุปกรณ์เครื่องเชื่อม ควรมีมาตรฐานและมีแถบสีอย่างถูกต้อง
2. ถังก๊าซแอลพีจี, ท่อบรรจุก๊าซออกซิเจน และท่อบรรจุก๊าซอะเซทิลีน ควรมีเกจวัดความดัน
3. ถังก๊าซแอลพีจี และท่อบรรุจก๊าซ ฯ ควรมีลิ้นนิรภัย
4. วาล์วและท่อบรรจุก๊าซไม่ควรมีจาระบี
5. หัวเชื่อมก๊าซจะต้องอยู่ในสภาพที่ดีเสมอ
คำแนะนำสำหรับการใช้ท่อบรรจุก๊าซ
1. อย่าใช้ก๊าซผิดประเภท
2. อย่าใช้ก๊าซเพื่อทำความสะอาดท่อ, อุปกรณ์ที่มีน้ำมัน หรือ ไขอื่น ๆ
3. อย่าบรรจุก๊าซผิดประเภท
4. อย่าใช้น้ำมันจาระบีทาหัววาล์ว
5. อย่าใช้ก๊าซโดยไม่ผ่านเรกูเลเตอร์
6. อย่าถ่ายเทก๊าซเอง
คำแนะนำในการใช้ถังบรรจุก๊าซเหลว
1. อย่าให้ไฟ, น้ำมัน, ก๊าซไวไฟ เข้าใกล้ถังบรรจุก๊าซ
2. อย่าจับท่อทางเดินก๊าซด้วยมือเปล่า
3. อย่าให้ออกซิเจนเหลวและไนโตรเจนเหลว สัมผัสกับมือหรือร่างกายโดยตรง
การเก็บรักษาท่อบรรจุก๊าซความดันสูงและถังบรรจุก๊าซเหลว
1. ควรเก็บไว้ในที่ร่ม
2. ควรเก็บไว้ในห้องที่มีการระบายอากาศดี
3. ควรยึดท่อให้มั่นคง
4. ควรปิดวาล์วเมื่อใช้ก๊าซหมด หรือ ควรปิดวาล์วเมื่อเลิกใช้ก๊าซ
5. ควรทำการเคลื่อนย้ายด้วยรถเข็ญ
6. อย่าโยน หรือทุ่มถังก๊าซแอลพีจี หรือท่อบรรจุก๊าซ ฯ
7. ไม่ควรเก็บท่อบรรจุก๊าซออกซิเจน ร่วมกับท่อบรรจุก๊าซอะเซทิลีน
8. ไม่ควรเก็บไว้ในที่ ๆ มีอุณหภูมิสูงถึง 50 องศาเซลเซียส
9. ไม่ควรเก็บไว้ในที่ชื้น มีเกลือ หรือมีสารกัดกร่อน
ถังบรรจุก๊าซเหลว
1. ควรเก็บ หรือติดตั้งถัง ไว้ในที่ ๆ มีอากาศถ่ายเทได้ดี
2. อย่านำไฟ, น้ำมัน, จาระบี และไฟฟ้าเข้าใกล้ถังบรรจุออกซิเจน
3. ควรมีเจ้าหน้าที่คอยควบคุมและดูแลในเฉพาะที่ ๆ นั้น
4. ถังบรรจุก๊าซเหลวบางรุ่น ห้ามวางนอน และควรมีการยึดตัวถัง เพื่อไม่ให้เกิดการล้มลงได้โดยง่าย
5. อย่าถ่ายเทก๊าซเหลวเอง
6. ควรให้พนักงานที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้วเป็นผู้เดินท่อเท่านั้น
  • ความปลอดภัยในการซ่อมบำรุงทั่วไป
การซ่อมบำรุงแบบป้องกัน เป็นระบบการซ่อมบำรุงที่ดีที่สุดคือ การได้ให้เหตุผลของงาน รวมทั้งความรับผิดชอบด้าน
การค้นคว้า, วิจัย และพัฒนา เพื่อหาทางปรับปรุงระบบการทำงานที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยทั่วไปจะมีขั้นตอนดังนี้ คือ
1. ควรจัดตั้งหน่วยงานที่จะต้องรับผิดชอบต่องานซ่อมบำรุงขึ้นโดยตรง
2. ควรมีผู้รับผิดชอบงาน ที่มีคุณลักษณะดังนี้
- ศึกษาว่าเหตุใด จึงจำเป็นจะต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนนั้น ๆ
- ศึกษาหาทางเลือกที่ดีที่สุด ในการทำงาน การผลิต และงานซ่อมบำรุง
- ทดลองหาข้อสรุปในแนวทางที่คิดปรับปรุงขึ้น
- วางแผนการทำงาน ชนิดที่เร่งด่วน ปานกลาง และในอนาคต
อุบัติเหตุและอันตรายต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องมาจากการซ่อมบำรุง
งานซ่อมบำรุง มักจะเป็นงานที่เกิดอุบัติเหตุได้บ่อย ทั้งนี้อาจเกิดจากสถานที่ ๆ ไม่เอื้ออำนวย หรือไม่มีความปลอดภัย อย่างเช่น เครื่องมืออุปกรณ์วางไม่เรียบร้อย, วัสดุไม่ได้จัดวางเป็นระเบียบ หรืออาจจะเกิดจากอุปนิสัยของช่างซ่อมบำรุงเอง และหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ก็จะทำให้พวกเขาได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตลงได้ โดยจะส่งผลโดยตรงต่อโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ๆ ในด้านสวัสดิการ และผลผลิต ตลอดจนคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ฉะนั้น การป้องกันอุบัติเหตุ จึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งนัก
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในงานซ่อมบำรุง อันเนื่องมาจากสาเหตุใหญ่ 2 ประการด้วยกันคือ สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย และการกระทำที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งจะมีรายละเอียดดังนี้
1. สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย
1.1 เครื่องมือและเครื่องใช้ไม้สอยต่าง ๆ ตลอดจนอะไหล่ต่าง ๆ ที่มีการจัดวางไม่เป็นระเบียบ
1.2 ชิ้นส่วนและอุปกรณ์หล่นทับ
1.3 การเชื่อมทำให้เกิดประกายไฟและลุกไหม้ขึ้นได้
1.4 การถอดชิ้นส่วนป้องกันอันตรายของเครื่องจักรออก
1.5 เกิดการรั่วของก๊าซเชื่อมโลหะ
1.6 การลัดวงจรไฟฟ้า
1.7 การเดินเครื่องจักรซึ่งยังมิได้ทำการตรวจเช็ค
2. การกระทำที่ไม่ปลอดภัย
2.1 การไม่ใช้เครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
2.2 การเล่นกันในบริเวณที่มีการซ่อมบำรุง
2.3 การใช้เครื่องมือผิดประเภท
2.4 การไม่สนใจหรือใส่ใจต่อคำเตือน
2.5 การไม่มีจิตสำนึกแห่งความปลอดภัย
2.6 สภาพร่างกายที่ไม่พร้อมในการทำงาน
2.7 การชอบเสี่ยงอันตราย
การป้องกันอุบัติเหตุในการซ่อมบำรุง
1. ผู้บริหารงานโรงงาน หรือเจ้าของกิจการโรงงาน ต้องยอมรับว่ามีส่วนในการทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นด้วย
2. โรงงานจะต้องมี นโยบาย, ระเบียบ, คำสั่ง และมาตรฐานในการทำงาน
3. งานการผลิตและงานซ่อมบำรุง จะต้องมีการประสานงานที่ดี
4. มีการแผนงานการซ่อมบำรุงแบบป้องกันในระยะยาว
5. ควรจัดหาบุคคล เพื่อให้เหมาะสมกับงาน " Put the Right Man to The Right Job " และควรมีหัวหน้างานคอยควบคุมดูแลงาน ๆ นั้น
  • กฎเบื้องต้นแห่งความปลอดภัย 10 ประการ
1. ปฏิบัติตามข้อแนะนำอย่างเคร่งครัด อย่าเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยไม่รู้จริง และหากเกิดข้อสงสัยให้ทำการสอบถามก่อนที่จะลงมือปฏิบัติงาน
2. ปรับปรุงแก้ไข หรือรายงานสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย
3. ต้องช่วยกันรักษาความสะอาด และมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
4. ใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ให้ถูกต้องและปลอดภัย
5. รายงานการบาดเจ็บและการปฐมพยาบาล
6. การใช้ การปรับแต่ง ตลอดจน การซ่อมแซมอุปกรณ์ต่าง ๆ จะต้องเป็นผู้ที่มีอำนาจ และมีหน้าที่เฉพาะเท่านั้น
7. ใช้ข้อกำหนดอุปกรณ์ป้องกันอันตรายต่าง ๆ เช่น การสวมชุดเสื้อผ้าความปลอดภัย และควรเก็บไว้ในที่ ๆ เหมาะสมให้เรียบร้อย
8. ห้ามหยอกล้อ หรือเล่นกัน และหลีกเลี่ยงการทำให้ผู้อื่นวอกแวก จนเสียสมาธิในการทำงาน
9. การยกสิ่งของต่าง ๆ ควรงอเข่า และถ้าเป็นของหนัก ควรช่วยกันยกหลาย ๆ คน
10. ยอมปฏิบัติตาม กฎ หรือสัญลักษณ์แห่งความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
  • ความปลอดภัยในการใช้หม้อไอน้ำ
ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2528) ซึ่งยังมีผลในทางการบังคับใช้ โดยมีความย่อและที่สำคัญ ๆ  เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการใช้หม้อไอน้ำ และหม้อต้ม ฯ ดังนี้ คือ
1. ต้องมีลิ้นนิรภัยอย่างน้อย 1 ชุด และหากหม้อไอน้ำที่มีพื้นที่ผิวรับความร้อนตั้งแต่ 50 ต.ร.ม.ขึ้นไป จะต้องมีลิ้นนิรภัย 2 ชุด
2. ต้องมีหลอดแก้ววัดระดับน้ำในหม้อไอน้ำ
3. ต้องมีเกจสำหรับวัดความดันไอน้ำ
4. ต้องมีเครื่องสูบน้ำเข้าหม้อไอน้ำ โดยมีความสามารถอัดน้ำได้ถึง 1.5 เท่าของความดันใช้งานสูงสุดของหม้อไอน้ำ
5. ต้องติดตั้งลิ้นกันกลับที่ท่อที่น้ำเข้าหม้อไอน้ำ
6. หากมีการใช้หม้อไอน้ำทั้ง 2 เครื่องขึ้นไป และต่อท่อรวมกัน จะต้องมีลิ้นกันกลับที่ท่อจ่ายไอน้ำของแต่ละเครื่อง
7. ต้องมีลิ้นจ่ายไอน้ำที่ตัวหม้อไอน้ำ
8. ถ้าหม้อน้ำใช้เชื้อเพลิงเหลว ต้องติดตั้งเครื่องควบคุมความดัน และเครื่องควบคุมระดับน้ำในหม้อไอน้ำ
9. ต้องติดตั้งสัญญาณเตือนระดับน้ำในหม้อไอน้ำ ถ้าต่ำกว่าระดับใช้งานปกติ
10. ต้องหุ้มฉนวนท่อจ่ายไอน้ำ
11. ท่อน้ำ, ท่อจ่ายไอน้ำ และลิ้นปิด-เปิด รวมถึงอุปกรณ์อื่น ๆ ต้องเป็นชนิดที่ใช้กับหม้อไอน้ำ
12. ถ้าหม้อไอน้ำสูงกว่า 3 เมตรขึ้นไป ต้องมีบันไดขึ้น-ลงบนหม้อไอน้ำ
13. หม้อไอน้ำ หรือหม้อต้มน้ำมัน ฯ ต้องได้รับการตรวจรับรองความปลอดภัยในการใช้งาน โดยวิศวกรเครื่องกลระดับสามัญขึ้นไป หรือผู้ที่ได้รับใบอนุญาตพิเศษตาม พ.ร.บ. วิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 แล้วส่งเอกสารดังกล่าว ไปยังกรมโรงงานอุตสาหกรรมภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ วันทำการตรวจทดสอบ
14. ต้องมีผู้คอยควบคุมประจำหม้อไอน้ำหรือหม้อต้ม ฯ ที่มีคุณวุฒิ ปวส. ช่างยนต์, ช่างกลโรงงาน หรือผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ หรือหม้อต้ม ฯ จากหน่วยงานราชการ หรือสถาบันที่กระทรวงอุตสาหกรรมรับรอง
15. ต้องมีวิศวกรเครื่องกลระดับสามัญขึ้นไปคอยควบคุมดูแล การสร้าง และการซ่อมหม้อไอน้ำ หรือหม้อต้ม ฯ ตลอดจนการตรวจทดสอบความปลอดภัยในการใช้หม้อน้ำ หรือหม้อต้ม ฯ และต้องมีวิศวกรเครื่องกลคอยอำนวยการใช้หม้อไอน้ำที่มีอัตราการผลิตไอน้ำตั้งแต่ 20 ตัน/ช.ม.ขึ้นไป โดยขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม
  • ความปลอดภัยในการใช้เครื่องทำความเย็นในโรงน้ำแข็งห้องเย็นที่ใช้แอมโมเนีย เช่น ตัวกลางทำความเย็น
1. ถังรับน้ำยาแอมโมเนียความดันสูง ความดันต่ำ อินเตอร์คูลเลอร์ หรือถังแลกเปลี่ยนความร้อน ต้องติดตั้งลิ้นนิรภัย
แบบคู่ (Dual Safety Relieve Valve) หรือวาล์ว 3 ทาง
2. ต้องต่อท่อก๊าซจากลิ้นนิรภัยทุกตัวไปลงบ่อกัดด้วยน้ำ
3. ต้องติดตั้งลิ้นกันกลับภายในทั้งด้านบนและด้านล่างของหลอดแก้ว เพื่อดูระดับน้ำยาแอมโมเนีย
4. ติดตั้งลิ้นกันกลับที่ท่อเติมน้ำยาแอมโมเนีย
5. ต้องติดตั้งก๊อกน้ำสะอาด สำหรับทำความสะอาดส่วนของร่างกาย ในกรณีที่มีการสัมผัสกับก๊าซแอมโมเนียแบบมือกด ไว้ในห้องเครื่อง
6. ต้องมีหน้ากาก หรือวิธีการป้องกันแอมโมเนียให้แก่ผู้ควบคุมเครื่องทำความเย็น เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน
7. ต้องมีวาล์วปล่อยปิด (Loaded Valve) ที่ท่อต่าง ๆ น้ำมันหล่อลื่นทุกตัว
  • ความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า
1. อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า ควรมีการต่อสายลงดิน
2. ต้องมีสวิตซ์ตัดตอนไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ
3. ต้องมีฟิวส์ป้องกันการใช้กระแสไฟฟ้าเกิน และห้ามใช้ลวดทองแดงแทนฟิวล์ตะกั่ว
4. เต้าเสียบไม่ควรมีการต่อออกไปใช้งานมากเกินขนาด
5. สายไฟฟ้าที่ต่อจากเตาเสียบไปใช้งานอื่น ๆ ควรต้องตรวจสอบ การถลอก การชำรุดของสายไฟฟ้าเป็นประจำ
6. ควรมีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าจากผู้เชี่ยวชาญ หรือวิศวกรไฟฟ้าเป็นประจำ
  • การป้องกันอุบัติเหตุหรืออันตรายภายในโรงงานอุตสาหกรรม
การป้องกันอุบัติเหตุหรืออันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นภายในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีวิธีที่ใช้ได้ผล และทางกรมโรงงานอุตสาหกรรม ก็ได้นำหลักการดังกล่าวนี้มาใช้อยู่เป็นประจำ นั่นคือ หลัก 3 E มีดังนี้ คือ
1. Engineering (วิศวกรรมศาสตร์) เป็นเรื่องของการออกแบบ การคำนวณ เครื่องจักร ครื่องมืออุปกรณ์ภายในโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานประกอบการ เพื่อให้ถูกต้องตามหลักของวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งจะต้องอาศัยการออกแบบด้วยการคำนวณ เพื่อให้มีความปลอดภัยต่อการใช้งาน และวิศวกร หรือสถาปนิกทั้งหลายนั้น ก็สามารถนำไปใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานประกอบการต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้การทำงานทุกอย่าง มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
2. Education (การศึกษาหรืออบรม) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ การอบรม การสัมมนา เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในทุก ๆ กลุ่มเพิ่มพูนความรู้มากขึ้น รวมถึงเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ใกล้เคียงกัน และทางกรมโรงงานอุตสาหกรรมก็ได้มีหลักสูตรสำหรับผู้ควบคุมหม้อไอน้ำ หรือหม้อต้ม ฯ โดยจัดร่วมกับทางสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด หรือร่วมกับสถาบันการศึกษาจัดฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าว อยู่เป็นประจำในทุก ๆ ปี โดยเชิญวิทยากรฝ่ายหม้อไอน้ำ ฯ กองความปลอดภัยโรงงาน ซึ่งในแต่ละปี ก็จะมีผู้ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรดังกล่าวกว่า 500-600 คน และผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมเหล่านี้ ก็จะได้รับการขึ้นทะเบียนประจำหม้อไอน้ำ หรือ หม้อต้ม ฯ ซึ่งยังผลให้การใช้งานของผู้ควบคุมหม้อไอน้ำหรือหม้อต้ม ฯ ดังกล่าวมีความปลอดภัยขึ้น โดยวิศวกร หรือสถาปนิกทั้งหลายที่สามารถจะนำเรื่องราวจากการฝึกอบรมไปประยุกต์ใช้ภายในโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานประกอบการต่าง ๆ ได้เช่นกัน ประโยชน์ก็เพื่อให้ทุก ๆ คนในหน่วยงานได้มีความตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงาน และจะสามารถทำให้ทุกคนคำนึงถึงแต่คำว่า Safety First หรือ Safety Ahead ตลอดเวลาในการทำงาน
3. Enforcement (กฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับ) เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายบังคับใช้ เพื่อให้ทุกคนในหน่วยงานได้ปฏิบัติตาม และเพื่อเป็นการเสริมสร้างความปลอดภัย ถ้าไม่มีการปฏิบัติตามก็จะมีความผิด อย่างเช่น เรื่องของหม้อไอน้ำ หากว่าโรงงานอุตสาหกรรม หรือสถานประกอบการที่มีการใช้หม้อไอน้ำในแต่ละชนิดที่มีอัตราในการผลิตไอน้ำตั่งแต่ 20 ตัน/ช.ม.ขึ้นไป จะต้องมีวิศวกรเครื่องกลคอยควบคุมดูแล เพื่ออำนวยการใช้สำหรับการซ่อม-สร้าง ตลอดจนการตรวจทดสอบความปลอดภัยในการใช้หม้อไอน้ำหรือหม้อต้ม ฯ ก็จะต้องขึ้นทะเบียนไว้กับทางกรมโรงงานอุตสาหกรรมอย่างถูกต้องด้วย
สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม หรือ สถานประกอบการที่มีการใช้หม้อไอน้ำหรือหม้อต้ม ฯ นั้น จะต้องมีผู้คอยควบคุมดูแลประจำหม้อไอน้ำหรือหม้อต้ม ฯ โดยผู้ควบคุมดูแลดังกล่าว จะต้องมีคุณวุฒิตามที่กำหนด และทำการขึ้นทะเบียนกับทางกรมโรงงานอุตสาหกรรม โดยวิศวกร หรือสถาปนิกที่ผ่านการฝึกอบรม และขึ้นทะเบียนเป็นที่เรียบร้อย และกำลังจะไปทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานดังกล่าว ก็จะสามารถกำหนดระเบียบข้อบังคับในการทำงานภายในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ๆ ได้ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความปลอดภัยให้แก่หน่วยงานนั้น ๆ ต่อไป
ข้อมูลความรู้ทางด้านความปลอดภัยในฉบับนี้ ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านผู้ประกอบการ และผู้ปฏิบัติงานภายในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ได้มีโอกาสอ่านบทความในข้างต้นนี้ ท่านจะสามารถนำข้อมูลความรู้ดังกล่าว ไปใช้ในทางการส่งเสริม และป้องกันการเกิดอุบัติเหตุอันตราย อันเนื่องมาจากการทำงานภายในโรงงานอุตสาหกรรมของท่านได้เป็นอย่างดีจากนี้ต่อไป ด้วยการตระหนักถึงคำว่า "กันไว้ดีกว่าแก้" ดังนั้นจึงขอขอบพระคุณ คุณศิริเพ็ญ เกียรติเฟื่องฟู หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ที่ได้ให้ข้อมูลความรู้ดี ๆ จากศูนย์เทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม มานำเสนอแก่ท่านผู้อ่านในครั้งนี้