วันอังคารที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557

Identifying Your Yamaha



OK, we're going to help you identify your Yamaha Golf Car.
First, refer to the chart below.          If this doesn't help. go to the step-by-step identifier below the chart.


All Yamaha Golf Car models begin with a G. "G16A" for example. The next digit indicates the relative age. The higher the number the newer the car. We'll tell you more in a minute. The last part of the model number is always either a A or an E. If your car has a gas engine, it will end in a A.
If your car is electric, it will end in an E. If you're not sure whether it's gas or electric, lift up the seat. If you see 6 batteries, the car is electric. If you see a motor and some belts, the car is gas.

First Question: Does you car have two bucket seats or a single bench seat.?

If the car has bucket seats, the Model is a G1

Bucket seat, gas engine, G1A

Bucket seats, electric car, G1E.

Car has a Bench Seat, ok, Next Question:What color is the steering column?

If the steering column is white, your car is a G2 (unless by some odd chance someone has painted it black) Bench seat, white steering column, gas engine, Model is a G2A. Bench seat, white steering column, electric car, Model is a G2E.

Bench Seat and black steering column...keep reading.

Next Question: Is there a small 4 inch square access door behind the seat on the passenger side? If you have the access door and the steering column is black, the car model is a G9. Again: Gas engine, black steering column, access door to the gas filler, you have a G9A. Electric power, black steering column, access door to the charger plug, you have a G9E.

Still no match? Next Question. Is the car a shiny Almond color with a wood grained dash panel? If yes, your car is a G8. Almond and wood dash, gas engine, G8A. Almond and wood dash, electric powered, G8E. If the car has been painted, you may need to find the serial number for accurate identification.

If you still haven't found a match, your car is the newest, and current Yamaha body style, identified by rounded fenders and front cowl. (1995-2004). With the new body style, factory built colored cars became available. Early colors were hunter green, teal and bright red. Later colors added burgundy, candy apple red, and metallic blue.

Next Question: Is there a black air intake from the drivers area to the engine area, located right behind the drivers right leg? If so, the car is a G14A. This description applies to a gas car only.

Last question: Is the logo on the front of the car a Yamaha tuning fork symbol, or is the logo a gold or silver emblem with the words YAMAHA?

If the emblem says Yamaha, your car is a G16. New body style, rounded fenders, Yamaha emblem in front, gas engine, your car is a G16A. New body style, rounded fenders, Yamaha emblem in front, electric powered, your car is a G16E OR a G19E, both electric cars.

To tell the difference between a G16E, which is a 36Volt electric, versus a G19E, which is a 48 Volt electric, look for the Forward Reverse Control. If it is a black switch on the dash, your car is a G19E 48 Volt. If the Forward Reverse is in the center of the rear body, large black lever, your car is a G16E 36 Volt electric.

(Exception: it may fit the above description for an electric car and be a G14E, (1995-6) however there is no appearance difference and no parts difference between a G14E and a G16E (1996-2002), so for ordering parts it is safe to say the car is a G16E.)

If the car has the new Yamaha "tuning fork" logo on the front cowl, then your car is a G22.Tuning fork logo, gas engine, G22A. Tuning fork logo, electric powered, G22E.

Simple, Isn't it?

วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ตลาดรถกอล์ฟขยายฐาน



ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ต้องถือว่า อยู่ในช่วงชะลอตัว ธุรกิจในหลายภาคส่วนยังคงอยู่ในช่วงน้ำนิ่ง ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจกอล์ฟอาจจะไม่เงียบเหงา แต่ก็ไม่บูมเปรี้ยงปร้างหากเทียบกับ สังเกตจากสนามกอล์ฟใหม่ที่มีอัตราการเกิดขึ้นลดน้อยลง รวมทั้งสนามไดร์ฟกอล์ฟที่ชะลอตัวลงไป

ขณะที่สนามกอล์ฟเองแม้จะ ยังมีนักกอล์ฟเข้ามาใช้บริการกันตามปกติแต่ด้วยภาวะต้นทุนที่สูงขึ้นตามค่า ครองชีพและสภาวะเศรษฐกิจที่ทรงตัวทำให้สนามกอล์ฟหลายสนามอาจจะต้องคำนึงถึง ค่าใช้จ่ายในหลายด้าน ซึ่งนั่นก็รวมถึงค่าใช้จ่ายในกรณีของรถกอล์ฟ ซึ่งถือเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกสิ่งหนึ่งที่ทางสนามกอล์ฟมีให้บริการแก่ ลูกค้า ซึ่งบางสนามนั่นอาจะมีการบังคับให้นักกอล์ฟต้องเช่ารถกอล์ฟ ด้วยเหตุผลทางด้านสภาพของสนามที่แตกต่างกัน

ในอดีตสนามกอล์ฟส่วนใหญ่ จะเลือกวิธีการซื้อรถกอล์ฟมาไว้เป็นของตัวเอง ด้วยจำนวน 100-200 คัน ตามจำนวนนักกอล์ฟที่มาใช้บริการของสนามกอล์ฟนั้นๆ หรือศักยภาพของสนมกอล์ฟในการลงทุนซื้อรถกอล์ฟ ซึ่งถ้าเป็นรถกอล์ฟมือ 1 เกรด A ราคาก็ตกอยู่คันละ 2-3 แสนบาท ถ้าสนามกอล์ฟมีรถ 100 คันค่าใช้จ่ายตรงนี้ก็มากถึง 20-30 ล้านบาท รวมทั้งยังไม่ค่าดูแลรักษาซึ่ง ถือเป็นจำนวนเงินไม่น้อย และเมื่อเทียบกับอัตราค่าเช่า ที่สนามกอล์ฟส่วนใหญ่ ตั้งราค่าเช่ารถกอล์ฟที่ 600-700 บาทต่อคัน ก็ถือว่าเป็นต้นทุนใช้เวลาในการคืนทุนค่อนข้างนานพอสมควร

แต่ถึงแม้ จะมีสนามกอล์ฟคำนึงเรื่องค่าใช้จ่ายในส่วนของรถกอล์ฟมากขึ้น รถกอล์ฟหรือรถไฟฟ้าก็ยังถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่สนามกอล์ฟทุกสนามจะต้องมีจะ มากน้อยนั่นก็ขึ้นแต่ความสามารถและความจำเป็นของแต่ละสนาม ดังนั้นจะเห็นได้ว่ายังมี ผู้ประกอบการรวมทั้งบริษัทเอกชนอีกหลายเจ้าที่เข้ามาทำการตลาดในกลุ่มรถ กอล์ฟนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหลังจากที่ ฮ็อทนิวส์ ของ ฮ็อท กอล์ฟได้นำเสนอความเคลื่อนไหวของตลาดรถกอล์ฟที่เติบโตขึ้นในช่วงปี 2552-2553 มาในปี 2556 ทีมข่าวฮอทกอล์ฟจึงทำการเจาะลึกความเติบโตของตลาดรถกอล์ฟทั้งจากปากของผู้ ผลิตหรือผู้จัดจำหน่าย ผู้ให้บริการเช่ารถกอล์ฟรวมทั้งสนามกอล์ฟต่างๆ ว่ามีแนวโน้มหรือทิศทางไปในทางใด

ผู้จำหน่ายรถกอล์ฟ ผุดขึ้นเต็มตลาดเจ้าเก่า เจ้าใหม่ ถีบตัวแย่งส่วนแบ่ง
ใน ตลาดรถกอล์ฟนั้นอดีตนั้นมีแบรนด์ที่จับจองส่วนแบ่งทางการตลาดไม่กี่เจ้า ซึ่งอาจจะเห็นกันจนชินตาตามสนามกอล์ฟ นั่นก็เป็นเพราะว่าแต่ก่อน เราถูกนำมาใช้แต่ในสนามกอล์ฟ แต่ ณ ปัจจุบัน รถกอล์ฟกลับได้รับความต้องการกลับธุรกิจประเภทอื่นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจ โรงแรม และรีสอร์ท ตามโรงงานอุตสาหกรรมหรือ แม้แต่ ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่แม้จำนวนในการซื้ออาจะไม่สูงเท่าสนามกอล์ฟ แต่ก็ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในขยายฐานตลาดของผู้ผลิตและจำหน่ายรถกอล์ฟ

เกทเวย์ จับมือ ไทยยามาฮ่า มอเตอร์เป็นตัวแทนจำหน่ายรถกอล์ฟ Yamaha
แม้ จะลงมาทำธุรกิจรถกอล์ฟในเมืองไทยตั้งแต่ ปี 2534 แต่แบรนด์รถกอล์ฟอย่าง Yamaha ซึ่งทำการตลาดและจัดจำหน่าย โดย บริษัท ไทยยามาฮ่ามอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ก็ยังไม่สามารถเจาะกลุ่มตลาดสนามกอล์ฟ ได้อย่างเต็มที่ ที่ผ่านมามีเพียงแค่ 3-4สนามเท่านั้นที่ใช้รถกอล์ฟของทาง Yamaha ซึ่งสาเหตุนั้นก็เพราะทาง ไทย ยามาฮ่า มอเตอร์ อาจจะไม่ถนัดในการทำตลาดสนามกอล์ฟก็เป็นได้

ล่าสุด บริษัทไทย ยามาฮ่า มอเตอร์ ได้บรรลุข้อตกลง ในการแต่งตั้งให้ บริษัท เกทเวย์ อีควิปเมนท์จำกัด ผู้เชี่ยวชาญ ในธุรกิจเกี่ยวกับกอล์ฟ ทั้งตัวแทนจำหน่าย เครื่องจักรในสนามกอล์ฟ แบรนด์ John Dearและ แบตเตอรี่ รถกอล์ฟ แบรนด์ Trojan เพื่อเพิ่มศักยภาพการขายและการทำตลาดรถกอล์ฟ Yamahaและโอกาสเข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยคุณรอยส์บาร์เร็ตต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เกทเวย์ อีควิปเมนท์จำกัดได้กล่าวถึงการเป็นตัวแทนจำหน่ายรถกอล์ฟYamaha ในครั้งนี้ว่า “จุดเริ่มต้นจริงๆ คือเกทเวย์เรามองเห็นโอกาส หลังจากเราได้เข้ามาทำธุรกิจ เกี่ยวกับเครื่องจักรในสนามกอล์ฟ รวมทั้งแบตเตอรี่รถกอล์ฟซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จและมีแนวโน้มไปในทางที่ดี

ดัง นั้นเราจึงขยายความต่อเนื่องในการทำธุรกิจกอล์ฟ ด้วยการก้าวเข้าไปเป็นผู้แทนจำหน่ายรถกอล์ฟซึ่งก่อนหน้านั้นมี 4-5 แบรนด์ที่อยากให้เราเข้าไปทำการตลาด และจัดจำหน่าย เพราะด้วยประสบการณ์ในการทำงานวงการสนามกอล์ฟมากว่า 10 ปีของผู้บริหารและทีมงานของเกทเวย์ ทำให้ยามาฮ่า มั่นใจว่าเราจะสามารถผลักดันยอดขายและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของรถกอล์ฟ Yamahaได้มากขึ้น ซึ่งเราได้ทำการเซ็นสัญญาไปเมื่อเดือน สิงหาคมที่ผ่านมา”

โดย จุดเด่นหรือจุดขายของรถกอล์ฟก็คือคุณภาพที่มากับราคาที่เหมาะสม ซึ่งหากเปรียบเทียบราคากันแล้วยามาฮ่า นั้นเป็นสินค้าที่ประกอบ ในสหรัฐอเมริกา แต่ว่าราคานั้นมีตั้งแต่ 2.5 แสน แต่ไม่เกิน 3 แสน นอกจากนั้นทางเกทเวย์ยังมีแบตเตอรี่รถกอล์ฟ Trojan จัดจำหน่ายด้วย เปรียบเสมือนเราซื้อรถกอล์ฟไปก็ไม่ต้องวุ่นวายด้านแบตเตอรี่ เพิ่มเติม ซึ่งในระยะเวลา ไม่ถึง 1 เดือนทางเกทเวย์ ได้ทำการตกลงขายรถกอล์ฟให้กับสนามกอล์ฟชั้นนำไปแล้วถึง 5 สนามจำนวนไม่ต่ำกว่า 200 คัน ซึ่งถือว่าเป็นผลตอบรับที่ดีมาก

คลับคาร์ ยังครองเจ้าตลาด
หาก พูดถึงรถกอล์ฟที่สนามกอล์ฟ ให้ความไว้วางใจใช้กันมากที่สุดนั่นก็คือ คลับ คาร์ ซึ่งในประเทศไทยนั้น ตัวแทนจำหน่าย คลับคาร์ ได้แก่ บริษัท ไอ เอ็ม ซี ซีคอร์ป จำกัด ซึ่งแม้จะมีเจ้าใหม่ หรือ คู่แข่งในตลาดเพิ่มขึ้น คลับ คาร์ ก็ยังคงได้รับความไว้วางใจจากสนามกอล์ฟมาตลอด โดยแหล่งข่าวจาก บริษัท ไอ เอ็ม ซี ซี คอร์ป จำกัดเปิดเผยกับ ฮ็อท กอล์ฟว่า ทีผ่านมาธุรกิจคลับคาร์ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มลูกค้าหลักๆ ของเราก็ยังคงเป็นสนามกอล์ฟเป็นหลัก โดยโปรดักส์ของเราในหลายๆรุ่นนั้นถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานที่เหมาะสมกับใน สนามกอล์ฟ

ด้วยจุดเด่นที่ทำให้ คลับ คาร์ ยังคงได้รับความไว้วางใจจากสนามกอล์ฟ ก็คือคุณภาพของสินค้า ใช้งานง่าย ทนทาน และอายุการใช้งานนานกว่าสินค้าหรือรถกอล์ฟที่มาจากประเทศจีนหรือประเทศต่างๆ นอกจากนั้นการบริการหลังการขายก็ถือเป็นสิ่งที่คลับคาร์ ให้ความสำคัญซึ่งทำให้ลูกค้าพึงพอใจ และมั่นใจหลังจากซื้อรถกอล์ฟจากคลับคาร์ไปแล้วว่า สินค้าจะไม่มีปัญหา ถึงมีก็จะได้รับการแก้ไขจากเจ้าหน้าที่คอยดูแลบริการหลังการขาย

ส่วน ช่องทางการตลาดอีก 1 ช่องทางของคลับคาร์นั่นก็คือการเพิ่มฐานลูกค้าไปยังกลุ่มธุรกิจ โรงแรม รีสอร์ทโรงงานอุตสหกรรมหรือแม้แต่ อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตอนนี้ถือว่ากำลังขยายตัวขึ้นมากมาย มีความต้องการใช้งานรถกอล์ฟจากตลาดกลุ่มนี้ค่อนข้างสูง ถึงแม้ปริมาณอาจจะเทียบไม่ได้กับสนามกอล์ฟก็ตาม โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

นอก จากคลับคาร์และยามาฮ่าที่มีความเคลื่อน-ไหวแล้ว ค่ายรถกอล์ฟค่ายอื่นๆ แม้จะไม่มีการขยับ แต่จากแหล่งข่าวที่อยู่ในแวดวงการจัดจำหน่ายรถกอล์ฟ ให้ข้อมูลว่า “ตอนนี้ สนามกอล์ฟเกิดใหม่น้อย ขณะเดียวกันหลายสนามเริ่มที่จะสนใจมาเน้นการเช่ารถกอล์ฟมากขึ้นดังนั้นการทำ ตลาดในธุรกิจรถกอล์ฟ ณ ปัจจุบัน จึงมิใช่เรื่องง่าย จึงมีการแข่งขันกันสูง ตอนนี้ มีค่ายรถกอล์ฟจากประเทศจีนมาตีตลาดด้านล่างอยู่พอสมควร แต่ค่ายต่างๆ ที่มีทีมงานขายและเซอร์วิสที่ดี ก็น่าจะพอเอาตัวรอดไปได้ ไม่ว่าจะเป็น KT PAN ที่มีบุคลากรที่เชี่ยวชาญและชำนาญในแวดวงรถกอล์ฟ และรถไฟฟ้าอเนกประสงค์ มากว่า 20 ปี หรือแบรนด์อย่าง คาลิโอ จากเครือ ไทยซัมมิท แม้จะดูดรอปลงไป แต่ ฐานลูกค้านอกเหนือจากสนามกอล์ฟ ยังเป็นส่วนแบ่งทางการตลาดที่สำคัญที่ค่ายรถกอล์ฟต่างพากันแย่งชิ้นปลามัน ทั้งโรงแรม รีสอร์ท โรงงาน และอสังหาริมทรัพย์”

สนามกอล์ฟเสียงแตก เช่าหรือซื้อ ดีกว่ากัน
ด้าน เสียงจากทางสนามกอล์ฟเองเกี่ยวกับการเติบโตของตลาดรถกอล์ฟ และการใช้งานในสนามกอล์ฟถึงแม้จะการจัดซื้อรถกอล์ฟจะเป็นงบประมาณที่ ค่อนข้างสูง หากเทียบกับการลงทุน 1 ครั้ง แต่หลายๆ สนามก็เลือกที่จะซื้อรถกอล์ฟมาใช้งานมากกว่า การเช่าหรือการปล่อยสัมปทานให้บริษัทเอกชนเข้ามาดำเนินการ บริหารจัดการการใช้รถกอล์ฟในสนามกอล์ฟ

โดยเสียงจากสนามกอล์ฟ เมาเท่นครีก สนามกอล์ฟระดับ 5 ดาว ที่ อ.สีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า สนามแห่งนี้ด้วยภูมิประเทศที่เป็นสนามสไตล์ และเลย์เอ้าท์ของสนาม ที่จำเป็นต้องบังคับให้นักกอล์ฟใช้รถกอล์ฟ โดยคุณสันติ ณ รังศิลป์ ผู้จัดการทั่วไปสนามกอล์ฟเมาเท่นครีก ระบุว่า “สนามกอล์ฟของเราเป็นสนามสไตล์ภูเขาเพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องใช้รถกอล์ฟ สำหรับนักกอล์ฟ โดยเราก็ลงทุนซื้อมาตั้งแต่เมื่อเปิดสนามครั้งแรก ทั้งหมดเกือบ 200 คัน แต่ว่าทางผู้ผลิตก็ทยอยจัดส่งมาเพราะผลิตไม่ทัน โดยของสนามเราใช้ยี่ห้อคลับคาร์ ซึ่งทางผู้บริหารมองว่าการลงทุนจัดซื้อรถกอล์ฟสำหรับสนามเราถือว่า เป็นเรื่องที่คุ้มค่ากว่าการเช่าหรือการเปิดให้ ข้างนอกมาเช่าพื้นที่ของเราให้บริการรถกอล์ฟ โดยแม้จะเป็นตัวเลขในการซื้อรถกอล์ฟที่มากว่า 30 ล้านบาท แต่ทางเรามองว่า ด้วยการเก็บค่าเช่าของเราคันละ 600 บาท ภายในระยะเวลา 3-4 ปีก็น่าจะคืนทุนในส่วนของรถกอล์ฟได้หมดแล้ว ขณะที่อายุการใช้งานส่วนใหญ่ของรถ ก็อยู่ที่ 10 ปี ซึ่งก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าการเช่า แม้ว่าเราจะต้องเสียเรื่องค่าดูแลรักษาต่างๆ เสียเจ้าหน้าที่ที่ต้องดูตรงจุดนี้ ไปบ้าง แต่ถือว่าหากเทียบกับการที่เราดูแลเองคุ้มกว่า โดยเฉพาะภาพลักษณ์ต่อสนามเราด้วยเช่นกัน ส่วนมุมมองของตลาดรถกอล์ฟ ตนคิดว่ายังน่าจะไปได้อยู่เพราะเชื่อว่าหลายๆ สนามสำหรับการลงทุนรถกอล์ฟคุ้มค่าแน่นอน”

ส่วนอีก 1 สนามกอล์ฟที่จำเป็นต้องใช้รถกอล์ฟเพราะด้วยสภาพภูมิประเทศของสนามนั่นก็คือ สนามกอล์ฟสันติบุรี สมุย โดยผู้บริหารของสนาม ให้ข้อมูลกับทางฮ็อทกอล์ฟว่า รถกอล์ฟจำเป็นสำหรับสนามสนามกอล์ฟแบบเรา โดยที่ผ่านมาเราก็ซื้อรถกอล์ฟมาใช้งานเพิ่มขึ้นโดยตลอด ส่วนใหญ่ก็เป็น คลับคาร์ ส่วนมุมมองของการซื้อหรือเช่ารถกอล์ฟมาใช้งานอันไหนจะคุ้มค่ากว่ากัน คิดว่าสนามกอล์ฟนั้นถ้ามีงบประมาณที่เพียงพอคิดว่าน่าจะลงทุนซื้อเป็นของตัว เองดีกว่า เพราะรายได้จากการให้เช่ารถกอล์ฟนั้นก็ถือเป็นรายได้ที่โอเค ไม่เกิน 3-4 ปีก็คืนทุนได้หมดแล้ว ถึงแม้จะต่อมีภารระในเรื่องค่าบำรุงรักษารถก็ตาม

ขณะที่สนามกอล์ฟที่ จะเป็นต้องใช้งานรถกอล์ฟควบคู่กับการใช้งานในรีสอร์ท อย่างไมด้า กอล์ฟคลับ โดยคุณอนุวัฒน์ สิงห์สาธร ผู้จัดการทั่วไป ไมด้ากอล์ฟ คลับ เผยว่า “สนามจำเป็นที่ต้องมีรถกอล์ฟเป็นของตัวเองเพราะสนามเราส่วนใหญ่นักกอล์ฟจำ เป็นต้องใช้รถไม่จะไม่ได้บังคับก็ตามเพราะเป็นสนามภูเขา

นอกจากนั้น เรายังได้ใช้ในส่วนของการบริการนักกอล์ฟจากรีสอร์ทมายังคลับเฮ้าส์ด้วย โดยส่วนตัวแล้วมองว่าสนามกอล์ฟน่าจะลงทุนซื้อรถกอล์ฟไว้เป็นของตัวเองดีกว่า เพราะรายได้จากการเช่ารถกอล์ฟนั้นสามารถนั้นเป็นส่วนต่างที่ดี และใช่เวลาเพียงไม่กี่ปีก็คืนทุนหมดแล้ว ส่วนหลังจากนั้นสนามกอล์ฟก็จะเก็บกำไรได้เพิ่มเติม”

แม้ในหลายๆ สนามจะลงทุนในการซื้อรถกอล์ฟมาใช้งานเอง แต่ขณะเดียวกันก็มีบางสนามที่ยังต้องเช่ารถกอล์จากบริษัทเอกชนข้างนอกอยู่ เนื่องด้วยเหตุผลทางความคุ้มค่าทางการเงิน หรือ การตัดความยุ่งยากในการดูแลรักษารวมทั้งเรื่อง เจ้าหน้าที่ในส่วนนี้ด้วย แต่ว่าขณะนี้กำลังมีบางสนามที่เลือกใช้การ ให้สัปทานกับ บริษัทเอกชน ที่เข้ามาบริหารจัดการรถกอล์ฟที่มาใช้ในสนามกอล์ฟซึ่ง 1 ใน นั้น คือ สนามกอล์ฟสวนสนประดิพัทธ์ ซึ่งถือว่าเป็นสนามกอล์ฟของทหาร

โดยพันเอก ไชยพงศ์ เสนนะวิณิน ผู้จัดการสนามกอล์ฟ ผู้จัดการสนามสวนสนประดิพัทธ์ ให้ข้อมูลว่า “หลังจากสนามของเราเปิดให้บริการ เมื่อ 2 ปีก่อน เรามองว่าการลงทุนรถกอล์ฟนั้นเป็นเม็ดเงินที่ค่อนข้างสูง แล้วถ้าเราซื้อรถกอล์ฟมาใช้งานเองแล้วนักกอล์ฟมาใช้บริการน้อยนั้นก็มีความ เสี่ยงที่จะไม่คุ้ม เราจึงตัดสินใจและมีการคุยกันกับบริษัทที่เราติดต่ออยู่แล้ว ถึงการให้สัมปทานกับบริษัทที่ให้บริการเช่ารถกอล์ฟ ภายในสนามกอล์ฟ ซึ่งเขาจะเข้ามาดูแลทั้งการจัดหารถกอล์ฟ การซ่อมบำรุง ดูแลรักษา ทำความสะอาด รวมทั้งเจ้าหน้าที่ที่จะมาดูแลจัดการ เรื่องรถกอล์ฟด้วย เรียกได้ว่าทางสนามจะตัดปัญหาในส่วนนี้ไปได้ด้วย ที่สำคัญเรายังจะมีรายได้จากการ ตลกลงเรื่องส่วนต่างที่ทางบริษัทที่เข้ามาบริหารจัดการรถกอล์ฟ ตลกลงไว้กับเราด้วย”